ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมอุปกรณ์ต่อพวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ที่เราสามารถมองเห็นและสัมผัสได้ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งเป็น 5 ส่วน 1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่รับโปรแกรมคำสั่ง และข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ 2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing : CPU) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมทั้งการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ 3. หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูล หรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูล 4. หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวณผล 5. อุปกรณ์พ่วงอื่นๆ (Peripheral Equipment) เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับคอมพิวเตอร์ หน่วยรับข้อมูล ได้แก่ 1. คีย์บอร์ด (Keyboard) อุปกรณ์รับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส 2. เมาส์ (Mouse) อุปกรณ์นำเข้าข้อมูลโดยการเลื่อนเมาส์เพื่อบังคับตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่างๆ - แบบทางกล (Mechanical) ใช้ลูกกลิ้งกลม - แบบใช้เอง (Optical mouse) - แบบไร้สาย 3. OCR (Optical Character Reader) อุปกรณ์นำเข้าข้อมูลโดยการอ่านข้อมูลด้วยลำแสงในลักษณะพาดวางบนเอกสารที่มีข้อมูล 4. OMR (Optical Mark Reader) อุปกรณ์นำเข้าโดยการอ่านข้อมูลจากการทำเครื่องหมายด้วยดินสอและปากกาลงบนกระดาษคำตอบ 5. เครื่องพิกัด (Digitizer) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล มีลักษณะเป็นแผ่นกระดาษสี่เหลี่ยม 6. สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลที่เป็นเอกสาร รูปภาพ หรือรูปถ่าย 7. ปากกาแสง (Light Pen) เป็นอุปกรณ์ทำงานคล้ายกับเมาส์ในการติดต่อกับคอมพิวเตอร์ 8. จอยสติก (Joy Sticks) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมทิศทางของวัตถุบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ 9. จอสัมผัส (Touch Screen) เป็นจอภาพชนิดพิเศษที่ใช้ระบบสัมผัสแทนการใช้คีย์บอร์ดและเมาส์ 10. เครื่องเทอร์มินัล (Point of Sale Terminal) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลอีกอย่างหนึ่งที่นิยมใช้ในร้านค้า 11. แผ่นสัมผัส (Touch Pads) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยการใช้นิวสัมผัสลงบนแผ่นสัมผัส 12. กล้องดิจิทัล (Dijital Camera) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถแปลงข้อมูลภาพเป็นสัญญาณดิจิทัล 13. อุปกรณ์รับข้อมูลเสียง (Voice Input Devices) หรือเรียกอีกอย่างว่า ไมโครโฟน เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลในรูปแบบเสียง หน่วยความจำ 1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory) หรือเรียกว่าหน่วยความจำภายใน - รอม (Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น 2. ความจำสำรอง (Second Memory) หรือหน่วยความจำภายนอก - ฮาร์ดดิส (Hard Disk) เป็นฮาร์ตแวร์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ - ฟล็อบปี้ดิสก์ (Floppy Disk) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีขนาด 3.5 นิ้ว - ซีดี (Compact Disk) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบดิจิทัล เป็นสื่อที่มีขนาดความจุสูง 3. รีมูฟเอเบิลไดร์ฟ (Removable Drive) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีตัวขับเคลื่อน 4. ซิบไดร์ฟ (Zip Drive) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่จะมาแทนแผ่นฟล็อบปี้ดิสก์ 5. Magnetic optical Disk Drive เป็นสื่อเก็บข้อมูลขนาด 3.5 นิ้ว 6. เทปแบ็คอัพ (Tape Backup) เป็นอุปกรณ์สำหรับสำรองข้อมูล 7. การ์ดเมมโมรี (Memory Card) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีขนาดเล็ก หน่วยประมวลผลกลาง 1. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic&Logical Unit : ALU) ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำงานเกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ 2. หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวลผล หน่วยแสดงผล 1. จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ที่เป็นภาพ 2. เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ในรูปของอักษรหรือรูปภาพ 3. ลำโพง (Speaker) เป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ในรูปแบบเสียง อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ 1. โมเด็ม (Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ติดต่อกับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย 2. แผนวงจรเชื่อมต่อเครื่อข่าย (LAN card) เป็นอุปกรณ์ในการรับ - ส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเวิร์คสเตชั่น และเครื่องให้บริการข้อมูล |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น